การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วงการขับรถยนต์บรรทุก

เตรียมตัวก่อนขับรถบรรทุก

ก่อนขับรถบรรทุก ควรเตรียม ตัวอย่างไร ปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ปลอดภัย และ ถูกกฏหมาย ไม่ผิดกฏจราจรฯ วันนี้มีคำตอบ

       รถยนต์บรรทุกได้เข้ามามีบทความหน้าที่ในการขนส่งในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขนส่งที่สามารถบรรทุกสิ่งของได้จำนวนมาก ใช้เวลาในการขนส่งได้รวดเร็ว แต่ถึงอย่างนั้นการขับขี่รถบรรทุกก็ไม่ได้สามารถเป็นกันได้ง่าย ๆ จำเป็นฝึกฝนทักษะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่จำเป็นต้องรู้ และ จำให้ได้ รายละเอียดยิบย่อยมาก ดังนั้นวันนี้ P.I.E. Premium Modern Truck ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธี เตรียมตัวก่อนขับรถบรรทุก มาไว้สำหรับท่านที่มีความศึกษาในการเริ่มขับขี่บรรทุก

7 ขั้นตอน เตรียมตัวก่อนขับรถบรรทุก อย่างถูกต้อง

1. ต้องมีใบอนุญาตในการขับขี่สำหรับการขับรถยนต์บรรทุก

       ตามปกติแล้วทุกการขับขี่บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ต้องมีการมีใบอนุญาตในการขับขี่ โดยสำหรับการขับขี่รถบรรทุกนั้นคือ ใบขับขี่ประเภท 2 จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1. ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล
1.2. ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ทั้งใช้สำหรับการขับขี่ขนส่งเพื่อการค้า หรือ ธุรกิจส่วนตัว  และใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้  เช่น การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น

– รถบรรทุกสาธารณะ (ท.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง

– รถบรรทุกส่วนบุคคล (บ.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว

2. จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก

ด้วยสภาพการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงมีกฎหมายออกมากำหนด ห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน ดังนี้

พื้นราบ

  • ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และ รถพ่วงเดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

ทางด่วน

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
  • รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
  • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.
3. น้ำหนักบรรทุก และพิกัดน้ำหนักตามกฎหมายกำหนดก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ

   การบรรจุสิ่งของเองก็มีน้ำหนักบรรทุก และ พิกัดน้ำหนักที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ดังนั้นการทราบเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากถ้าหากฝ่าฝืน มีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ยังไม่ถึงเรื่องที่อาจทำให้พื้นท้องถนนได้รับความเสียหายได้อีก

ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถไว้ว่า

  • รถ 6 ล้อ ต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 15 ตัน
  • รถ 10 ล้อ ต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 25 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
  • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน

ทั้งนี้ระหว่างทางจะมีจุดชั่งน้ำหนักรถให้บริการอยู่ หากรถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือ ฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อ้างอิงจาก สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ)

4. ทุกการขนส่งต้องมีผ้าคลุมแน่นหนา และมีอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย

       ในการขนส่งนั้นระหว่างทางเราไม่สามารถจะคาดเดาสภาพอากาศในแต่ละครั้งได้ อาจจะต้องเจอทั้งพายุฝน ฝุ่นควัน หรือ สภาพท้องถนนที่ไม่ราบเรียบ อาจจะทำให้สิ่งของที่บรรทุกอยู่นั้นหล่นใส่รถคันที่ขับตามหลังอยู่ทำให้ก่อเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ตามกฎหมายแล้วก็มีกำหนดระยะยื่นจากท้ายรถ และ ความสูงเอาไว้ด้วย  และ สำหรับการคลุมนั้นจะต้องใช้ผ้าใบสีทึบ 

ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการมีแสงสะท้อนสู่ผู้ขับขี่ร่วมทาง  และ ผ้าคลุมต้องมีความแข็งแรงพอที่จะยึดสิ่งของให้แน่นหนาป้องกันไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น และ ถ้าหากรถบรรทุกฝ่าฝืนไม่คลุมผ้าใบทำให้มีของตกหล่น จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 32 (3) ว่าตัวเจ้าของบริษัทผู้ประกอบการมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และ นายทะเบียนอาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท  และ หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์อีกด้วย (อ้างอิงจาก กรมการขนส่งทางบก)

5. ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงไว้เสมอ

      สำหรับแผ่นสะท้อนแสงนั้น จะทำหน้าที่สะท้อนแสง กับไฟหน้าของรถคันอื่น ๆ เพื่อช่วยในการมองเห็นได้ ในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ และการติดเองก็จำเป็นต้องติดให้ถูกตำแหน่ง โดยมีการประกาศนี้บังคับใช้กับรถบรรทุกที่มีจำนวนเพลา ล้อและยาง ตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (รถสิบล้อขึ้นไป) ยกเว้นรถลากจูง หากฝ่าฝืนจะผิด พรบ.ขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท  

6.   ติดตั้ง และเปิด GPS ไว้ตลอดเวลา

       ตามกฎหมายใหม่ที่เริ่มบังคับใช้อย่างจริงจังใน ปี พ.ศ. 2562 สำหรับเรื่องการติดตั้ง GPS Tracker ของรถบรรทุก ซึ่งกรมการขนส่งทางบกมีการกำหนดให้ รถเมล์ หรือ รถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทุกคันจะต้องติดตั้งระบบ GPS ก็เพื่อที่จะเชื่อมโยงข้อมูล กับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่แต่ละคันได้ หากไม่ติดตั้งเครื่องนี้ หรือ ไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ตัวผู้ขับขี่เองมีโทษ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามกำกระทรวง มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท

7. หมั่นเช็คน้ำมันให้เพียงพอกับระยะทางทุกครั้ง

       ก็เพื่อการประหยัดเวลาในการเดินทาง จึงจำเป็นต้องมีน้ำมันพอสำหรับทุกการเดินทาง ลดการเข้าจอดเทียบเพื่อเติมน้ำมันรอบใหม่ เนื่องจากแต่ละครั้งนั้นกินเวลา และ ต้องต่อคิวนาน

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

P.I.E. Premium Modern Truck :: ขายรถบรรทุก

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง