ท่านั่งขับรถ บรรทุกยังไง ให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการขับขี่ให้ดียิ่งขึ้น
การนั่งขับรถให้ถูกต้องก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กันกับการดูแลสภาพของรถบรรทุกให้อยู่ดีเสมอ ซึ่งการนั่งขับรถให้ถูกต้องนั้น จะสามารถทำให้การขับขี่นั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยความที่ท่านั่งขับรถส่งผลในการควบคุมการขับขี่รถโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากว่านั่งไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่น้อยไปด้วย ในวันนี้ P.I.E. Premium Modern Truck จะพาทุกคนไปดูกันว่า ท่านั่งขับรถ ที่ทั้งถูกต้องและปลอดภัย นั้นเป็นอย่างไร และ ก็ยังได้รวมท่าบริหารที่ช่วยลดความเมื่อยล้าเมื่อต้องขับนาน ๆ มาฝากอีกด้วย
- ระยะห่างของเบาะ
เพื่อให้นั่งได้สบายตัว ไม่อึดอัดจนเกินไป ควรห่างจากพวงมาลัยประมาณ 1 ช่วงแขน และ แขนจะต้องไม่หย่อน ไม่ตึง จนเกินไป ส่วนเข่าก็ต้องอยู่ในลักษณะที่งอได้เล็กน้อย ขณะเหยียบเบรกสุด เพื่อให้สามารถเหยียบเบรกได้เต็มแรงระยะห่างจากพวงมาลัยดังกล่าวเป็นระยะที่ทำให้มีประสิทธิภาพในการขับ การนั่งใกล้เกินไปจะทำให้ทำให้กล้ามเนื้อแขนตึงได้ และ การนั่งไกลเกินไปก็ทำให้ควบคุมรถได้ยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมาก
- ปรับความสูง – ต่ำของเบาะให้เหมาะสม
ความสูงที่เหมาะสมของเบาะจะอยู่ที่ ระยะห่างศีรษะกับเพดานรถเท่ากับ 1 กำปั้น จะอยู่ในระดับสายตาพอดี ทำให้สามารถมองเห็นทัศนวิสัยได้ดีอีกด้วย และ ยังช่วยให้ไม่ปวดหลังอีก
- ปรับพนักพิงให้พอดี และ เอนเล็กน้อย
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ารูปร่างของแต่ละคนไม่เท่ากัน ต้องทำการปรับพนักพิงให้เอนประมาณ 110 องศา เพื่อให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสมของท่านั่งขับรถระหว่างตัวผู้ขับกับพวงมาลัยพอดี มีอีกมีวิธีง่ายๆ คือ การเอาข้อมือไปวางบนพวงมาลัยเพื่อปรับช่วงหลังให้ลงตัว ค่อย ๆ ปรับเอ็นหลังกดไปประมาณ 1-2 ล็อค ให้ตัวพนักพิงเข้ากับเอว จนรู้สึกว่ากระชับก็ถือว่าได้
- ตำแหน่งของหมอนรองคอ
หมอนรองคอ หรือ เรียกอีกอย่างว่าหัวเบาะ เป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามนำออกจากเบาะอย่างเด็ดขาด เนื่องจากถูกทำมาเพื่อลดแรงกระแทก และ อาการบาดเจ็บช่วงคอของคนที่นั่งอยู่ ทำให้นั่งให้สบายขึ้นอีกด้วย ส่วนการปรับตำแหน่งที่เหมาะสมนั้น คือ ควรปรับให้อยู่ประมาณครึ่งของศีรษะ หรือ กลางศีรษะนั่นเอง
- นั่งชิดให้เต็มเบาะ
การนั่งชิดให้เต็มเบาะ ก็เพื่อให้เบาะนั้นโอบสรีระทุกส่วน จะช่วยสร้างความมั่นคงในการนั่ง แล้วยังช่วยลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้อีก
- ปรับตำแหน่งของพวงมาลัย
ปรับตำแหน่งให้พวงมาลัยเชิดขึ้นหาคนขับนิดหน่อย และ จับพวงมาลัยในตำแหน่งมือขวาจับ 3 นาฬิกา และ มือซ้ายจับ 9 นาฬิกา จะช่วยให้หมุนพวงมาลัยได้เร็ว หลุดจากมือได้ยาก และ ทำให้การควบคุมรถมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ปรับกระจกมองข้าง และ กระจกหลัง
การปรับกระจกมองข้าง และ กระจกหลังจะต้องปรับให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นมุมกว้าง โดยที่ไม่ต้องขยับตัวหรือเอี้ยวคอไปมามากนัก ให้กระจกข้างจะต้องตั้งฉากกับตัวรถ ส่วนกระจกมองหลังให้ปรับแบบตรง ๆ เพื่อให้เห็นรถคันหลัง
- ไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัย
สุดท้ายต้องไม่ลืมที่จะคาดเข็มขัดนิรภัย ที่จะช่วยให้เราปลอดภัยมากขึ้นในยามที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงยังไม่โดนปรับอีกด้วย ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งก่อนออกเดินทาง การปรับเข็มขัดนิรภัยให้เหมาะสม ด้วยการพาดจากบริเวณไหปลาร้าลงมาที่สะโพก แนบกับกระดูกเชิงกราน แล้วก็ล็อกสายเข็มขัดนิรภัยให้แน่นสนิท
ท่าที่ 1 คลายกล้ามเนื้อหลังแขนท่อนล่าง คว่ำแขนเหยียดศอกให้สุด กระดกข้อมือ-7ขึ้นลง ใช้มืออีกข้างดันมือเข้าหาลำตัว
ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นคอ หันศีรษะลงตรง ๆ ใช้มือทั้งสองข้าง ประสานไว้ไว้กับหลังศีรษะ ใช้แรงกดลงเบา ๆ
ท่าที่ 3 ท่ายืดท้องแขน ยกแขนขึ้น งอข้อศอกไปด้านหลัง จากนั้นใช้แขนฝั่งตรงข้าม ผลักข้อมือไปด้านหลัง
ท่าที่ 4 ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก เหยียดแขนไขว้ไปฝั่งตรงข้าม ใช้แขนอีกข้าง งอศอกล็อก และ ออกแรงดึงไปฝั่งตรงข้าม
ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกติดตั้งกระเช้าไฟฟ้า ได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck