การใช้น้ำดับเพลิงของรถดับเพลิง

การใช้น้ำดับเพลิง

เราจะมี การใช้น้ำดับเพลิง จากรถดับเพลิงอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงสูงสุด เพื่อให้การปฏิบัติงานออกมาลุล่วงและปลอดภัย

       ในการผจญเพลิงหรือดับเพลิงเป็นงานที่ปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นจำเป็นต้องมีความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน มีมาตรฐานของอุปกรณ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ ระมัดระวัง ในส่วนของการใช้งานอุปกรณ์ และ สารดับเพลิงในการปฏิบัติการเองก็ต้องมีเช่นเดียวกัน และ การดับเพลิงเป็นการทำงานด้วยการใช้น้ำดับเพลิง เนื่องจากน้ำเป็นหนึ่งในสารดับเพลิงที่ถูกนำมาใช้กับ รถดับเพลิง หรือ รถยนต์บรรทุกน้ำอเนกประสงค์ นั่นเอง ดังนั้นนอกจากความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน มีมาตรฐานของอุปกรณ์แล้ว เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ในเรื่องปริมาณการใช้น้ำต้องสัมพันธ์กับไฟด้วย และ มีวิธีที่จะทำอย่างไรใช้น้ำให้ได้ประสิทธิภาพในการดับเพลิงสูงสุด ซึ่งในวันนี้ P.I.E. Premium Modern Truck ก็จะมาแนะนำวิธีการ การใช้น้ำดับเพลิง ร่วมกับรถดับเพลิงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

       การที่ใช้น้ำดับเพลิงร่วมกับรถดับเพลิงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่น จะต้องอิงจากปริมาณการใช้น้ำต้องสัมพันธ์กับไฟนั่นเอง ไฟมากก็ต้องมีการใช้น้ำมาก ไฟน้อยก็ใช้น้ำน้อย แต่ก็อาจจะมีผลกระทบที่ตามมาได้นั่นคือทรัพย์สินของประชาชนอาจได้รับความเสียหายได้ ดังนั้นเราควรจะใช้น้ำให้น้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดได้ โดยเราจะต้องประยุกต์ใช้จากคุณสมบัติของน้ำ ที่สามารถปิดกั้นอากาศด้วยไอน้ำ และ สามารถดูดกลืนความร้อน พร้อมทั้งทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงน้อยลง ทำให้องค์ประกอบของไฟไม่ครบ หรือ ไม่สมบูรณ์ เราจึงจะใช้น้ำดับไดด้วยการเปลี่ยนสภาพน้ำให้กลายเป็นไอและขยายตัว ลดอุณภูมิชั้นความร้อนให้ต่ำลง และ ควบคุมก๊าซที่ลุกไหม้และทำให้เปลวไฟหมด และ หยุดไปได้

การขยายตัวของน้ำเมื่อกลายเป็นไอ

       น้ำจะกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ 100 °C มีอัตราส่วน 1700:1 และ การใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพนั้น ก็คือการใช้น้ำควบคุมไฟอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของไฟ การใช้น้ำเพื่อลดอุณภูมิลงมาให้อยู่ที่ในแนวกลาง จะช่วยให้สามารถมองเห็นจุดต้นเพลิงได้ นอกจากนี้ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงปลอดภัยในการเข้าผจญเพลิง เพราะเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาจได้รับอันตรายจากไอน้ำได้

ขนาดของฝอยน้ำ

ขนาดของฝอยน้ำที่เราทำการฉีดออกไปจากปลายหัวฉีดนั้น จะมีผลต่อการควบคุมไฟโดยตรง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. ฝอยน้ำขนาดเล็ก (Small droplets) การปรับหัวฉีดแบบฝอยขนาดเล็ก มีประโยชน์ ใช้ในการควบคุมไฟบริเวณกว้าง สามารถปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟและความร้อนเมื่อเข้าใกล้ และยังใช้ทดสอบอุณภูมิของไฟ
  2. ฝอยน้ำขนาดใหญ่ หรือลำตรง (Large droplets) การปรับหัวฉีดแบบฝอยขนาดใหญ่ หรือ ลำตรง มีประโยชน์ใช้เพื่อการสกัดกั้นไฟและเมื่อต้องการฉีดดับไฟระยะใกล้
ลักษณะการใช้น้ำดับเพลิง และ เทคนิคการปรับหัวฉีดเพื่อดับไฟ
ลักษณะการใช้น้ำดับเพลิง

       ก่อนจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปรับหัวฉีดเพื่อดับไฟเพื่อให้เหมาะสมและพอเพียงกับพื้นที่ เรามารู้เกี่ยวกับเรื่องลักษณะการใช้น้ำดับเพลิงกันก่อน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. ฉีดโดยตรง (Direct) การฉีดแบบโดยตรงมีจุดประสงค์เพื่อใช้น้ำฉีดเข้าไปยังฐานของต้นเพลิงให้ไฟนั้นดับลงด้วยความรวดเร็ว โดยระยะทางในการฉีดนั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการ และ แรงดันของน้ำที่มาจากรถดับเพลิงด้วย

ข้อควรระวัง : การฉีดโดยตรงอาจะมีผลกระทบต่อทรัพย์สินทำให้เกิดความเสียหายจากแรงดันน้ำสูงได้ และ อาจะนำพาเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปยังจุดต้นเพลิงทำให้ไฟนั้นลุกลามได้ ถ้าหากการปฏิบัติไม่ถูกต้อง  และ ยังเพิ่มอันตรายให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเอง เพราะอาจเป็นการเติมเชื้อให้ไฟอีกด้วย

  1. ฉีดโดยอ้อม (Indirect) การฉีดโดยอ้อมเป็นการฉีดฝอยน้ำด้วยการปรับกึ่งฝอยส่ายหัวฉีดไปมาโดยรอบไปในห้องที่เกิดเพลิงไหม้ปิดคลุมกองไฟ จะสามารถสร้างไอน้ำจากพื้นผิวที่มีความร้อนให้มากที่สุด และ มีจุดประสงค์เพื่อให้ไอของเชื้อเพลิงเย็นตัวลง ไม่ได้ส่วนผสมที่เหมาะกับอากาศ จะทำให้เปลวไฟหมดไป และ อุณหภูมิก็ลดลงด้วย ในส่วนของระยะของการฉีดก็ตามความเหมาะสมของขนาดเพลิงที่ลุกไหม้

ข้อควรระวัง : ชั้นของความร้อนในห้องที่เกิดเหตุนั้นจะกดต่ำลง อาจะส่งผลทำให้การมองเห็นลดลง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาจได้รับอันตรายจากไอน้ำได้

  1. การฉีดแบบฝอยละเอียด (Gas cooling) มีจุดประสงค์เพื่อลดอุณภูมิของไอเชื้อเพลิงให้เย็นตัวลง
เทคนิคการปรับหัวฉีดเพื่อดับไฟ

มาถึงเทคนิคการปรับหัวฉีดน้ำเพื่อให้เหมาะสม และ พอเพียงกับพื้นที่ มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่

  1. การปรับหัวฉีดเป็นช่วงสั้น ๆ (Short Pulse) จุดประสงค์เพื่อที่จะลดอูณหภูมิ ทำให้กลุ่มควันจางลงได้ และยังช่วยป้องกันเปลวไฟจากไอก๊าซ โดยปรับหัวฉีดแบบกึ่งฝอยได้ด้วยการเปิดน้ำเต็มที่ และ ปิดอย่างรวดเร็ว และ ฉีดขึ้นด้านบนหัวของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเอง
  1. การปรับหัวฉีดเป็นช่วงยาว (Long pulse) จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะเปิดทางสำหรับห้องที่มีขนาดใหญ่ การฉีดคล้ายกับแบบแรกคือปรับแบบกึ่งฝอยเปิดน้ำเต็มที่ 2-3 วินาที และ ปิดอย่างรวดเร็ว ฉีดไปทางด้านหน้าผ่านกลุ่มควันไปยังผนัง เพดาน หรือ เปลวไฟ
  1. การปรับหัวฉีดแบบลำตรง (Penciling) จุดประสงค์เพื่อลดอุณหภูมิ และ ดับสิ่งของที่มีติดไฟต่าง ๆ และ ยังช่วยป้องกันการคายไอของเชื้อเพลิง โดยการปรับหัวฉีดแบบลำตรงด้วยการปรับน้ำเป็นลำตรงปลายแหลมเปิดน้ำเต็มที่เป็นจังหวะ ให้เป็นฝอยน้ำเม็ดใหญ่กระทบลงกับผิวของวัตถุเชื้อเพลิง
  1. การปรับหัวฉีดแบบระบาย (Painting) เป็นการฉีดน้ำป้องกันคายไอของเชื้อเพลิงด้วยน้ำบาง ๆ โดยการปรับหัวฉีดแบบระบายด้วยการฉีดเป็นลำตรงใช้น้ำปริมาณน้อยที่สุดไม่ให้เกิดก๊าซจาการเผาไหม้

และนี่ก็เป็นการใช้น้ำดับเพลิงกับรถดับเพลิงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ทางเราหวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับหลาย ๆ ท่านได้นำเทคนิค และ วิธีการต่าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เพื่อความปลอดภัยต่อไปได้ 

ที่มา : สถานีดับเพลิงสามเสน

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

P.I.E. Premium Modern Truck :: ขายรถบรรทุก

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง