ประเภทของรถบรรทุกลากจูงและอุปกรณ์ส่วนเสริมที่ใช้ในรถบรรทุก

ประเภทของรถบรรทุกลากจูง หน้าปกเรื่อง

มาทำความรู้จักกับ ประเภทของรถบรรทุกลากจูง และ อุปกรณ์ส่วนเสริมอื่นๆ

สวัสดีสมาชิกทุกท่านในวันนี้ทางเรา P.I.E. Premium Modern Truck ได้นำเอาเกล็ดความรู้เล็กๆ เกี่ยวกับ ประเภทของรถบรรทุกลากจูง มาฝากสมาชิกทุกท่านอีกแล้วเช่นเคย ซึ่งบทความนี้จะทำการกล่าวถึง ประเภทต่างของๆ ของรถลากจูง และ อุปกรณ์การใช้งานของรถแต่ละประเภท ซึ่งจะมีการใช้งานที่คล้ายกัน หรือ แตกต่างกัน มากน้อยขนาดไหน วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และพัฒนา ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุก ที่เรามีให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันได้เลย

ความเป็นมาของรถลากจูง

       รถบรรทุกลากจูง หรือ รถบรรทุกพ่วง เป็นรถบรรทุกที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือ กิจการบรรทุกอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นการบรรทุกแบบเฉพาะทาง และ ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเก็บกู้คืนยานพาหนะอื่นๆ ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ หรือ อาจหมายถึงการทำงานที่ผิดพลาดของตัวรถเอง โดยยานพาหนะเหล่านั้นไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ โดยการส่งคืนรถหนึ่งคันขึ้นสู่ส่วนบรรทุกท้ายรถ เพื่อทำการลากจูง หรือ ขนส่งไปยังร้านซ่อม หรือ สถานีซ่อมบำรุงที่อื่นต่อไป

       โดยรถบรรทุกลากจูงนั้นแตกต่างจากรถพ่วงบรรทุกรถปกติที่เรารู้จักกัน ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายยานพาหนะอื่นๆ นั้นไม่ใช่แค่เพียงการลากจูงรถเพียงคันเดียว แต่อาจเป็นการเคลื่อนย้ายรถหลายคันพร้อมกันในการขนส่งก็ได้เช่นกัน

ประเภทของรถบรรทุกลากจูง และ อุปกรณ์ส่วนเสริม

       รถบรรทุกพ่วง หรือ รถบรรทุกลากจูง โดยทั่วไปจะมีอยู่ประมาณ 5 ประเภท จะมีการใช้งานโดยทั่วไปคือเน้นไปที่การขนส่งเคลื่อนย้ายรถ แต่ก็อาจจะขึ้นอยู่กับประเภท หรือ ขนาดของยานพาหนะที่จะลากด้วย ซึ่งประเภทของรถบรรทุกพ่วงจะมีดังต่อไปนี้

1. รถลากจูงที่ติดตั้งบูม

ประเภทของรถบรรทุกลากจูง บูมติดตั้งรถบรรทุก
รถบรรทุกติดตั้งบูม หรือ ชุดแขนกลไฮดรอลิก ซึ่งบูมจะเป็นแบบปรับได้ทำการเก็บกู้ยานพาหนะที่เกิดอุบัตรเหตุหนักจนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือ อยู่ในจุดที่ทำการเก็บกู้ได้ลำบาก เช่น ยานพาหนะที่ตกลงไปยังถนนข้างทาง หรือ ยานพาหนะที่ตกลงไปยังคูน้ำ เป็นต้น โดยบูมนั้นก็จะมีหลากหลายชนิดแยกตามการใช้งานแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นบูมขนาดเล็กที่ใช้สำหรับขนย้ายวัติถุขนาดเล็ก ไปจนถึงบูมชนิดที่หนักที่สุดที่สามารถหมุนได้รอบทิศอย่างอิสระ พร้อมรองรับการขนย้าย เคลื่อนย้าย วัตถุขนาดใหญ่และมีน้ำหนักเยอะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเปลี่ยนรถลากให้เป็นเครนเคลื่อนที่ที่เรียกว่า “โรเตเตอร์” โดยปกติแล้วรถประเภทนี้จะสงวนไว้สำหรับใช้งานในการอุบัติเหตุ หรือที่รู้จักกันในชื่อ รถบรรทุกเฉพาะ นั่นเอง โดยในอดีตรถบรรทุกที่ใช้บูมนั้นจะติดตั้ง “ตะขอ และ โซ่” สำหรับใช้คล้องรอบโครงรถ หรือ เพลา รถที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อทำการยกตัวรถขึ้นให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้องพร้อมเคลื่อนย้ายด้วยรถลากจูงชนิดอื่นต่อไป

2. รถลากยกล้อ

รถลากยกล้อ หรือ รถลิฟท์ล้อ (เรียกอีกอย่างว่า “ลิฟท์แว่น” หรือ “อันเดอร์ลิฟท์“) เป็นรถที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ลากจูงใต้ช่วงล้างของล้อหน้า หรือ ล้อหลัง เพื่อยกขึ้นบนแท่นวางแล้วทำการเคลื่อนย้ายต่อไปยังสถานีซ่อมบำรุง โดยส่วนหน้า หรือ ส่วนท้าย ของยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุนั้นไม่สามารถใช้งานได้ แต่ยังมีส่วนของล้อหน้า หรือ ล้อหลังที่สามารถทำงานได้อยู่ให้ทำหน้าที่ต่อไป โดยจะทำการยกส่วนที่ชำรุดหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ให้พ้นจากพื้นด้วย รอกนิวเมติก หรือ ไฮดรอลิก เพื่อให้สามารถลากจูงได้ โดยประวัติของลิฟท์ยกล้อนี้ถูกออกแบบโดย Arthur W. Nelson แห่ง Weld Built Body Co. ในปี พ.ศ. 2510 และเป็นที่นิยมอย่างมากในแถบโซนยุโรป แท่นวางมีลักษณะคล้ายกับทรงสี่เหลี่ยม แต่สำหรับการยกล้อ รถบรรทุกขนาดกลาง และ รถบรรทุกหนัก ใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน คือ “ลิฟท์ยกใต้ท้อง” หรือ “ตัวยกตัวถัง” ซึ่งจะยกในส่วนของ เพลารถ หรือ โครงรถ แทนล้อ นอกจากนี้รถยกล้อลากนั้นสามารถมีดัดแปรงเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สำหรับยกแชสซีได้เช่นกัน

3. รถลากจูงแบบบูรณาการ

รถลากจูงแบบบูรณาการ โดยรถบรรทุกลาจูงประเภทนี้จะเป็นการผสมผสานส่วนเสริมทั้ง บูม และ ลิฟท์ยกล้อ รวมอยู่ในรถคันเดียว สำหรับรถลากจูงประเภทนี้หากเลือกใช้งานในรถบรรทุกขนาดเล็กจะใช้เพื่อ เคลื่อนย้ายยานพาหนะที่จอดผิดที่ หรือ จอดผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่จะมีการควบคุมอุปกรณ์ผ่านแผงควบคุมภายในห้องโดยสารของรถลาก เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องออกจากห้องโดยสารรถบรรทุกเพื่อดำเนินการยกรถแต่อย่างใด แม้ว่าลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับรถยกล้อ แต่รถบรรทุกรถลากจูงแบบบูรณาการจะแตกต่างกันตรงที่ส่วนท้ายของบูมมีแขนที่เคลื่อนย้ายได้ซึ่งสามารถยึดเข้ากับล้อของรถได้ง่าย และ รวดเร็วกว่าซึ่งจะควบคุมการทำงานจากห้องโดยสารของรถบรรทุก

4. รถลากจูงพื้นเรียบ

รถลากจูงพื้นเรียบ หรือ Flatbed (เรียกอีกอย่างว่า “Rollback“, “Slide” หรือ “Tilt Tray“) ซึ่งจะใช้ในการบรรทุกรถยนต์ทั้งคัน หรือ จะเป็นรถบรรทุกขนาดที่เล็กกว่าก็ได้ โดนรถจะทำการเคลื่อนย้ายรถเป้าหมายขึ้นไปยังส่วนท้ายสำหรับรถถทุกด้านหลังทั้งหมดที่ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับลากจูงรถเป้าหมายที่เสียหายขึ้นไป และ ยึดไว้กับส่วนบรรทุกพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังปลายทางต่อไป โดยส่วนบรรทุกจะมีระบบไฮดรอลิกส์ที่สามารถยก และ เลื่อนปรับระดับเข้าสู่ระดับพื้นดินเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายรถอื่นๆ ได้ง่าย รถประเภทนี้ส่วนใหญ่จะทำการดัดแปลงหัวรถบรรทุกมาใช้งานเสียมากกว่า ด้วยความสามารถในการบรรทุกวัตถุที่มีน้ำหนักเยอะ และ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายรถที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือ รถที่มีขนาด/น้ำหนัก เกินกว่าที่รถลากจูงประเภทอื่นๆ จะรองรับได้ ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจะใช้ในการบรรทุกซากรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากการชนอย่างหนักจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยวิธีการทั่วไป

5. รถยกกระบะ

รถยกกระบะ รถประเภทนี้จะติดตั้งบูมใช้โครงยกล้อเพื่อยกรถในแนวตั้ง และ ทำการวางลงบนเตียง หรือ ส่วนบรรทุกแล้วยึดรถให้มั่นคงพร้อมเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย โดยปกติแล้วรถลากจูงประเภทนี้จะทำการเคลื่อนย้ายเฉพาะรถที่มีขนาดเล็กกว่า หรือ มีขนานที่เข้ากันได้

สรุป ประเภทของรถบรรทุกลากจูง

สำหรับรถหัวลากนั้นจะมีหลาย ขนาด และ ประเภทน้ำหนัก เพื่อใช้งานอย่างเฉพาะทางให้มีความเหมาะสำหรับการลากรถ หรือ รถที่ทำการลากจูง รถประเภทพื้นเรียบส่วนใหญ่ใช้รถบรรทุกขนาดกลางไปจนถึงบรรทุกหนักเพื่อให้สอดคล้องกับความแข็งแรงของแชสซีที่สามารถบรรทุกทั้งคันได้อย่างไม่มีปัญหาและปลอดภัย ต่อมาคือ รถบรรทุกหัวลากขนาดกลาง ซึ่งจะติดตั้งบูมที่มีกำลังตั้งแต่ 15 ถึง 20 ตันสั้น (14–18 เมตริกตัน) เพื่อทำการยก และ ลากงานหนักที่ใช้แชสซี และ สมรรถนะที่สูง โดยจะนิยมใช้รถบรรทุกแบบกึ่งที่มีหลายเพลา และ ความสามารถในการลากจูงรถบรรทุกกึ่งพ่วงไปจนถึงรถเทรลเลอร์ได้ ต่อมาคือ รถเทรลเลอร์ ได้ที่บรรทุกเต็มกำลังได้ตั้งแต่ 25 ถึง 50 ตัน  (23–45 เมตริกตัน) โดยจะมีการติดตั้ง โรเตเตอร์ ซึ่งมีตั้งแต่ 40 ถึง 75 ตัน (36–68 เมตริกตัน) ซึ่งรถประเภทนั้นมักจะมาพร้อมกับคุณสมบัติอื่น ๆ มากมายครบครันตามข้อกำหนด หรือ ความต้องการของลูกค้า

และก็จบกันไปแล้วสำหรับ ประเภทของรถบรรทุกลากจูง ที่สามารถพบเห็น และ มีใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งแม้บางประเภทจะมีประสิทธิภาพที่จะใช้งานทดแทนกันได้ แต่บางประเภทก็มีข้อจำกัดต่างๆ ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานบางประเภทได้ด้วยเช่นกัน โดยเราอาจสามารถเลือกใช้งานรถให้เหมาะสมกับประเภทงานได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดในการทำงานนั่นเอง

ที่มา : https://hmong.in.th/wiki/Tow_truck

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

P.I.E. Premium Modern Truck :: ขายรถบรรทุก

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง