ขับรถลุยน้ำท่วม จะดูแลรถอย่างไรดีนะ ?

ขับรถลุยน้ำท่วม

ขับรถลุยน้ำท่วม อาจจะส่งผลเสียตามมาทีหลังและค่าใช้จ่ายปานปลายได้ จะดูแลรถอย่างไรดี ควรเช็กอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถป้องกันไว้ก่อน

       ล่าสุดทางกรมอุตุฯ ได้แจ้งเตือนพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งจะมีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2565 นี้ และจะส่งผลให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่เลยทีเดียว และแน่นอนว่าในเมื่อมีฝนตกหนักถึงหนักมากจากพายุมรสุมเกิดขึ้นก็จะต้องมีน้ำท่วมขังตามมาอย่างแน่นอน ทำให้เราจะต้องมีการ ขับรถลุยน้ำท่วม ขังเป็นเรื่องปกติอย่างเลี่ยงไม่ได้  ถึงแม้ว่ารถของเราจะสามารถขับฝ่าน้ำท่วมขังออกมาได้โดยที่ไม่ดับไปกลางทาง แต่ก็อาจจะสามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อยู่ดี และก็อาจทำให้เสียทั้งค่าใช้จ่ายบานปลายทั้งเสียเวลาซ่อมตามหลังอย่างน่าหงุดหงิดใจได้ ดังนั้นเราก็ควรจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ ด้วยเช็กจุดต่าง ๆ ของรถทุกครั้งหลังจากที่ขับรถลุยน้ำท่วม สำหรับวันนี้ทาง P.I.E Premium Modern Truck ได้รวบรวมมาแล้วว่าควรเช็กจุดไหนบ้างตามไปดูกันเลย 

ขับรถลุยน้ำท่วม มาเช็กลิสต์จุดที่ควรเช็กหลัง

✓ จุดที่ 1 ระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า

       ระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าของรถ เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องตรวจสอบ ซึ่งความชื้นจากน้ำมักจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบอิเล็กทรอนิกส์และสายไฟต่าง ๆ ดังนั้นหลังจากที่ขับรถลุยน้ำท่วมมาควรเช็กระบบไฟเหล่านี้  ไม่ว่าจะเป็นกล่องฟิวส์ กล่องอีซียู ถ้าหากเปียกน้ำก็เช็ดให้สะอาด และเช็กว่ามีความเสียหายหรือไม่ และนอกจากนี้ก็อย่าลืมก็ตรวจสอบไฟต่าง ๆ ภายนอกรถด้วย

 

ขับรถลุยน้ำท่วม

✓ จุดที่ 2 การทำงานเครื่องยนต์

       หลังจากที่มีการลุยน้ำท่วมแล้ว ก็ควรจะสังเกตอาการของเครื่องยนต์ด้วยว่ามีความผิดปกติในการทำงานหรือไม่ อย่างเช่น มีอาการกระตุก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หรือมีเสียงดังกว่าปกติ ซึ่งถ้าหากขับขี่เป็นประจำอยู่แล้วก็จะรับรู้ถึงความผิดปกติได้ไม่ยาก

ขับรถลุยน้ำท่วม

✓ จุดที่ 3 สภาพห้องโดยสาร

      เนื่องจากในการลุยน้ำท่วมขังมีความจำเป็นที่ต้องจะขับขี่เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ ก็มีความเป็นไปได้น้ำจะซึมเข้ามาในห้องโดยสารส่วนที่เป็นซีล หรือรอยต่อต่าง ๆ หรือน้ำที่ท่วมมีความสูงถึงท่อไอเสียจนทำให้น้ำไหลเข้าสู่ห้องโดยสารได้ ดังนั้นหลังจากที่ขับรถลุยน้ำท่วมก็ควรจะตรวจสอบห้องโดยสาร ด้วยการสังเกตพรมปูว่ามีน้ำแฉะหรือมีความเปียกชื้นหรือไม่ ถ้าหากมีให้นำพรมไปตากแดด หรือถ้าหากมีน้ำขังอยู่ในภายในห้องโดยสารก็ควรดูดหรือเช็ดออกให้แห้ง และเปิดประตูรถทั้งสี่ด้านเพื่อทำการระบายอากาศและไล่ความชื้นจากห้อง

 

✓ จุดที่ 4 ระบบเบรก

       หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมมาแล้วอาจทำให้ผ้าเปียกก็จะส่งผลให้สูญเสียการยึดเกาะได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งเร่งเครื่องหรือออกตัวด้วยความเร็ว เพราะถ้าหากมีการเหยียบเบรกแรง ๆ ก็อาจจะทำให้รถลื่นจนเสียหลักได้ สิ่งที่ควรทำก็คือการ “เลียเบรก” เพื่อไล่ความชื้นด้วยการเหยียบเบรกย้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร ให้ผ้ากับจานเบรกหรือดรัมเบรกเกิดความร้อนจะช่วยให้น้ำและความชื้นได้มีการระเหยจนกลับมาอยู่ในสภาพปกติ

ขับรถลุยน้ำท่วม

✓ จุดที่ 5 ลูกปืนล้อ

      ลูกปืนล้อ ถ้าหากถูกแช่น้ำนาน ๆ ก็อาจจะเสื่อมคุณภาพและพังได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากจารบีที่ทำหน้าที่ในการคอยหล่อลื่นภายในลูกปืนได้หายไปกับสายน้ำ จะสามารถสังเกตอาการได้จากเสียงของลูกปืนล้อจะดังขึ้นในเวลาที่มีการวิ่งด้วยความเร็วสูง ๆ หรืออาจจะเสื่อมคุณภาพแล้วเมื่อถูกน้ำ แต่สำหรับเป็นการขับรถวิ่งผ่านน้ำเฉยๆ ด้วยความเร็วประมาณหนึ่งก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ก็ต้องหมั่นเช็กทุกครั้งหลังจากที่ลุยน้ำเสมอ

ขับรถลุยน้ำท่วม

✓ จุดที่ 6 เพลาขับและเฟืองท้าย

       เพลาขับและเฟืองท้าย เป็นชุดอุปกรณ์ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการน้ำเข้า ซึ่งถ้าหากยางหุ้มเพลามีการเสื่อมหรือฉีกขาด ก็มีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปทำให้จาระบีที่อยู่ภายในหายไป ในส่วนของเฟืองท้าย น้ำก็สามารถเล็ดลอดเข้าไปในท่อหายใจของน้ำมันเฟืองท้ายได้ สามารถเช็กความผิดปกติได้ด้วยการสังเกตเสียงถ้าหากมีเสียงดังผิดปกติออกมา จะต้องแก้ไขด้วยการทาจารบีใหม่ เปลี่ยนยางหุ้มเพลาใหม่ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว

✓ จุดที่ 7 ระบบปรับอากาศ

       หลังจากการขับรถลุยน้ำท่วม ในบางครั้งก็อาจมีน้ำเข้ามาในรถโดยไม่รู้ตัว จนกลายเป็นความชื้น และจะส่งกลิ่นเหม็นอับชื้นได้ ถึงแม้ว่ารถเราจะไม่ได้จมน้ำก็ตาม ถ้าหากเจอกับปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการนำรถเข้าศูนย์เพื่อล้างและกำจัดกลิ่นระบบปรับอากาศ

✓ จุดที่ 8 น้ำมันเครื่อง

       สิ่งสุดท้ายที่ควรเช็กหลังจากขับรถลุยน้ำท่วมก็คือ น้ำมันเครื่อง ว่ามีน้ำผสมอยู่หรือไม่ สามารถเช็กด้วยการดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาเพื่อดูเนื้อของตัวน้ำมัน ถ้าเป็นยังมีความเป็นเนื้อเดียวกันแสดงว่าไม่มีน้ำผสมอยู่ แต่ถ้าหากว่าน้ำมันเครื่องเป็นสีออกน้ำตาล ๆ คล้ายกาแฟใส่นม หรือว่ามีการแยกชั้นระหว่างน้ำกับน้ำมัน แสดงว่าน้ำได้เข้าไปผสมกับน้ำมันเครื่องแล้ว จะต้องรีบนำรถไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมเปลี่ยนไส้กรองใหม่ทั้งหมดทันที

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

P.I.E. Premium Modern Truck :: ขายรถบรรทุก

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง