รถบรรทุกวัตถุอันตราย สามารถประสบพบเจอได้บ่อยครั้งในเส้นทางออกนอกจังหวัด แต่รถบรรทุกวัตถุอันตรายจะมีประเภทใดกันบ้างไปดูกัน
ในวันนี้ทาง P.I.E Premium Modern Truck จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ รถบรรทุกวัตถุอันตราย กันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการประสบพบเจอกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายบนท้องถนนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยเชียว และ ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราจะเดินทางข้ามไปจังหวัดด้วยเส้นทางหลวงออกนอกจังหวัดต่าง ๆ ก็มักจะต้องร่วมทางไปกับ รถบรรทุกวัตถุอันตราย , รถบรรทุกที่ติดตั้งถังบรรจุสารอันตรายขนาดใหญ่ หรือ รถบรรทุกสารเคมี ไว้ด้านหลังอยู่บ่อย ๆ อย่างแน่นอน
และในหลาย ๆ ครั้งเราก็มักจะได้เห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจาก รถบรรทุกสารเคมี เช่น สารเคมี, ก๊าช, น้ำมัน รวมไปถึงวัตถุประเภทต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้มากกว่าการอุบัติเหตุจากประเภทอื่น แล้วถ้าอย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ขับร่วมทางไปนั้น คันไหนบรรทุกสารอันตราย หรือ สารเคมีประเภทใดกันบ้าง และ เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วจะทำอย่างไร จะขับร่วมทางกันอย่างไรให้ปลอดภัยได้บ้าง ถ้าหากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทต่าง ๆ ไว้ก็จะสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถ และ ใช้ถนนร่วมเดินทางกับรถเหล่านี้ แล้วยังหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
เราจะสามารถรู้ได้ว่า รถบรรทุกวัตถุอันตราย ที่ขับร่วมทางอยู่นั้นบรรทุกสารอันตรายประเภทใดอยู่ ด้วยการสังเกตป้ายที่จะติดอยู่ข้างแท็งค์ หรือด้านท้ายของรถบรรทุก
- ป้ายสีส้มที่ไม่มีข้อความ
- ป้ายสีส้มที่มีหมายเลขแสดงความเป็นอันตราย (Hazard indentification number หรือ kemler code) และ หมายเลขสหประชาชาติของวัตถุอันตราย UN Number หรือ United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods ที่มีไว้จำแนกสารที่เป็นอันตราย และ เป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือก่อให้เกิดความเสียหาย จำแนกออกตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย
ซึ่งรถบรรทุกวัตถุอันตราย หรือ รถบรรทุกสินค้าอันตราย ต่าง ๆ จะสามารถจำแนกออกตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือ ความเสี่ยงในการเกิดอันตรายได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้
ประเภทที่ 1 รถบรรทุกวัตถุอันตราย สาร และ สิ่งของระเบิด
ของแข็ง ของเหลว หรือ สารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิง และ สิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย รถบรรทุกสารเคมี ประเภทนี้ควรรักษาระยะห่างเพื่อความปลอดภัย
สารประเภทนี้สามารถแบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่
- สาร หรือ สิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงในทันที (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
- สาร หรือ สิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่จะไม่ระเบิดในทันทีทันใด ทั้งหมด เช่น กระสุนปืน, ทุ่นระเบิด และ ชนวนปะทุ เป็นต้น
- สาร หรือ สิ่งของที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือ การระเบิดแตกกระจาย แต่จะไม่ระเบิดในทันทีทันใดทั้งหมด เช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น
- สาร หรือ สิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด แต่ถ้าหากเกิดการปะทุ หรือ ปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ เช่น พลุอากาศ เป็นต้น
- สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่ถ้าหากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
- สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมาก และ ไม่ระเบิดในทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุ หรือ แผ่กระจาย
ประเภทที่ 2 รถบรรทุกวัตถุอันตราย ก๊าซ
สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และ รวมไปถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่วไหล ก็จะสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟ และ เป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ ซึ่ง รถบรรทุกสารเคมี ประเภทนี้จะมีป้ายสัญลักษณ์ติดชัดเจน
ซึ่งสารประเภทก๊าซสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
- แก๊สไวไฟ (Flammable Gases) หรือแก๊สที่อุณหภูมิ 20°C และ มีความดัน 101.3 kP สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13% หรือ ต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือ มีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12% ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติแล้วแก๊สไวไฟ หนักกว่าอากาศ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้ม หรือ ก๊าซแอลพีจี เป็นต้น
- แก๊สไม่ไวไฟ และ ไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หรือ แก๊สที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20°C หรือ อยู่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่แล้วเป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นพิษ หรือ แทนที่ออกซิเจนในอากาศจนทำให้เกิดสภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
- แก๊สพิษ (Poison Gases) หรือ แก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพ/ร่ายกาย หรือ แก๊สอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งสารกลุ่มนี้นี้จะได้รับจาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ มีกลิ่นที่ทำให้ระคายเคืองระบบการหายใจ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
ของเหลว หรือ ว่าของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือ ไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิดไอของเหลวไวไฟ พร้อมลุกติดไฟได้เมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
ประกอบด้วย 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถเกิดลุกไหม้ หรือ ติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือ เกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือ เป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง เช่น เกลือไดอะโซเนียม หรือ เป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด เช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
- สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) คือ สารชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้ด้วยตัวเองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือ เกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศ และ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้ เช่น เนื้อมะพร้าวแห้ง
- สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หรือ สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว สามารถมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เอง หรือ ทำให้เกิดแก๊สไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตรายได้ เช่น ถ่านแก๊สก้อน โซเดียม
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์ และ สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
- สารออกซิไดส์ (Oxidizing) ของแข็ง หรือ ว่าของเหลวที่ตัวของสารเองไม่สามารถติดไฟได้ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้ และ อาจจะก่อให้เกิดไฟได้ และ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้ก็จะก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ด่างทับทิม เป็นต้น
- สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) ของแข็ง หรือ ว่าของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม และ ช่วยในการเผาสารให้เกิดการลุกไหม้ หรือ ทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ เมื่อได้รับความร้อน หรือ เกิดลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจสามารถระเบิดขึ้นได้ เช่น แอซีโตนเปอร์ออกไซด์ เมธทิว เอททิล คีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 6 สารพิษ และ สารติดเชื้อ
- สารพิษ (Toxic Substances) ของแข็ง หรือ ว่าของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิต หรือ บาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคนได้ ถ้าหากกลืน สูดดมหรือหายใจรับเอาสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อน หรือ ลุกไหม้จะปล่อยแก๊สพิษออกมา เช่น โซเดียมไซยาไนด์ ไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืช และ สัตว์ เป็นต้น
- สารติดเชื้อ (Infectious Substances) สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ หรือ สารที่มีตัวอย่างการตรวจสอบต่าง ๆ มีสภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในสัตว์ และ คน เช่น รถบรรทุกสารเคมี แบคทีเรียเพาะเชื้อ รถบรรทุกสารเคมีของเสียทางการแพทย์ โคโรน่าไวรัส เป็นต้น
ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี
วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องได้มากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
ของแข็ง หรือ ว่าของเหลว ซึ่งปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์ที่สามารถกัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง หรือ สามารถทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง รถบรรทุกสารเคมี เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น โซดาไฟ กรดกำมะถัน กรดเกลือ เป็นต้น
ประเภทที่ 9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
สารเคมี หรือ ว่าสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต ยางมะตอย แร่ใยหิน แบตเตอรี่ลิเทียม เป็นต้น และ ให้รวมถึงสารที่ในระหว่างการขนส่งต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลว หรือ มีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C ในสภาพของแข็ง
ซึ่งเมื่อเราพบเห็น รถบรรทุกวัตถุอันตราย อยู่บนท้องถนนควรจะมีการเว้นระยะห่างเอาไว้ หรือ หลีกเลี่ยงที่จะขับตามหลัง รถบรรทุกสารเคมี ท่าที่จะทำได้ เพราะถึงแม้ว่ามีถังบรรจุของสารเคมี และ วัตถุอันตรายจะมีความแน่นหนาปลอดภัยในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่หากเกิดอุบัติเหตุ สารเคมีอาจรั่วไหล เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ลุกลามเป็นวงกว้างได้ และที่สำคัญที่สุดอย่าสูบบุหรี่หรือก่อประกายไฟ ใกล้กับรถประเภทนี้อย่างเด็ดขาด
และถ้าหากเราพบว่า รถบรรทุกสารเคมี มีการเกิดอุบัติเหตุต้องทำอย่างไร อันดับแรกจะต้องตั้งสติ เว้นระยะให้ออกห่างจากพื้นที่เกิดเหตุเอาไว้ก่อน และ โทรแจ้งเหตุกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้รายละเอียดอย่างครบถ้วนที่สุดว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดที่ไหน อย่างไร
เบอร์ฉุกเฉินในกรณีที่พบเห็น รถบรรทุกวัตถุอันตราย รถบรรทุกสารเคมี เกิดอุบัติเหตุ
- สายด่วน 191 : แจ้งเหตุ
- สายด่วน 199 : กรณีไฟไหม้
- สายด่วน 1650 : กรณีสารเคมีรั่วไหล รถบรรทุกสารเคมี เกิดอุบัติเหตุ ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี
- สายด่วน 1669 : เจ็บป่วยฉุกเฉิน มีคนบาดเจ็บ
ที่มา : Active Learning : Learning for All , ขับขี่ปลอดภัย by DLT
ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck