ไขข้อสงสัย โครงสร้างราคาน้ำมัน ของไทยใน 1 ลิตรประกอบด้วยอะไรบ้าง

โครงสร้างราคาน้ำมัน
Image by jcomp on Freepik

โครงสร้างราคาน้ำมัน ของไทยที่เราเติมกันอยู่ทุกวันนี้ใน 1 ลิตรประกอบด้วยอะไรบ้าง อาจจะมีหลายคนเกิดคำถาม มาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กัน

       ในวันนี้ทาง P.I.E Premium Modern Truck จะมาพาทุกคนไปไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันว่า โครงสร้างราคาน้ำมัน ในประเทศไทยที่เราเติมกันอยู่ในปัจจุบันทุกวันนี้ใน 1 ลิตร จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง นี่อาจจะเป็นคำถามที่ใครหลายคนเริ่มมีข้อสงสัยมากขึ้น หลังจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศมีการปรับขึ้น-ปรับลงอยู่บ่อยครั้ง มาตั้งแต่ช่วงหลังเทศกาลปีใหม่เป็นต้นมา

ในการเติมน้ำมัน 1ลิตรเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

       ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทำความเข้าใจว่า ราคานามันขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมันนั้น ไม่ใช่ราคาจากหน้าโรงกลั่น แต่เป็นราคาที่ผ่านส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกันถึง 4 อย่าง ได้แก่

  • โรงกลั่น ( 40 –60%)
    โดยราคาเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่น จะหมายถึงราคาน้ำมันที่ถูกขายจากหน้าโรงกลั่นที่อยู่ในประเทศไทยนั่นเอง เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะได้รับเงินส่วนนี้ไป เป็นราคาที่คิดมาจาก ต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่นเข้าไป อย่างเช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น ซึ่งจะอ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย

และในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยจะมีโรงกลั่นน้ำมันอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 โรง ดังนี้

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP)

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC)

บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC)

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (BCP)

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC)

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ESSO)

โรงกลั่นน้ำมันฝาง

  • ภาษีต่าง ๆ ( 30 –40%)
    เป็นส่วนที่รัฐบาลเรียกเก็บเพิ่มเติมมาจากราคาน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

ภาษีสรรพสามิต เนื่องจากรัฐมองว่าน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงจะต้องมีการเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อนำไปเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศโดยจะถูกเรียกเก็บเป็นอัตราต่อลิตร ซึ่งขึ้นอยู่กับทางคณะกรรมการว่าจะมีการเรียกเก็บจำนวนต่อลิตรเป็นอัตราเท่าไหร่

ภาษีมหาดไทย หรือที่เรียกกันว่า ภาษีเทศบาล เป็นภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นตามมาตรา 4 ของ พรบ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทย มีอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภท เป็นการเรียกเก็บเพื่อเป็นนำไปเงินอุดหนุน บำรุง และดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่นั่นเอง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นการคิดเพิ่มมาจากราคาขายส่งและขายปลีก เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งในปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7%

  • เงินกองทุน (5 –20%)

สำหรับเงินกองทุนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน

เงินเรียกเก็บหรืออุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงินที่เก็บเพื่อเป็นเงินสำรองเอาไว้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน หรือเมื่อในเวลาที่น้ำมันในตลาดโลกสูงจนเกินไป ก็จะใช้เงินในส่วนนี้เพื่อเข้ามาพยุงราคาปลีกในประเทศไว้นั่นเอง โดยจะคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ที่คอยกำกับดูแลว่า จะมีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนหรือจะอุดหนุนเงินให้กับน้ำมันประเภทไหน ในจำนวนเงินเท่าไหร่  เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวน

เงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยจัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน

  • ค่าการตลาด (10 –18%)

ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ โดยตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน หรือพูดง่าย ๆ ก็เป็นค่ากำไรสำหรับผู้ค้าปลีกน้ำมันนั่นเอง

       เมื่อเราได้ไปทำความรู้จัก โครงสร้างราคาน้ำมัน ของไทยกันแล้ว ก็จะพบได้ว่าส่วนประกอบทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับขึ้นและลงราคาน้ำมันภายในประเทศ และทำให้ราคาน้ำมันของไทยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านนั่นเอง

ที่มา : autodeft.com, excise.go.th

ติดตามข่าวสาร และ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รถบรรทุกได้ที่ : P.I.E. Premium Modern Truck ขายรถบรรทุก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : P.I.E Premium Modern Truck

P.I.E. Premium Modern Truck :: ขายรถบรรทุก

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง